logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาฬสินธุ์
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

 

คำขวัญจังหวัดกาฬสินธุ์ 

"หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี”

1. ประวัติจังหวัดกาฬสินธุ์

              สมัย กรุงธนบุรีประมาณ พ.ศ.2310 พระเจ้าองค์เวียนดาแห่งนครเวียงจันทน์ ได้สิ้นพระชนม์ โอรสท้าวเพี้ยเมืองแสนได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ และได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบแทน  ทรงพระนามว่า   "พระเจ้าศิริบุญสาร" พ.ศ. 2320   ท้าวโสมพะมิตร  และ อุปราชเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำเกิดขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสาร จึงรวบรวมผู้คนอพยพจากดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ข้ามมาตั้งบ้านเรือนบริเวณลุ่มน้ำก่ำแถบบ้านพรรณนา(ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร) ต่อมาท้าวศิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมาท้าวโสมพะมิตรจึงอพยพต่อไปโดยแยกเป็น 2 สาย คือ
            สายที่ 1 มี เมืองแสนหน้าง้ำเป็นหัวหน้า อพยพไปทางทิศตะวันออกสมทบกับพระวอหลบหนีไปจนถึงนครจำปาศักดิ์ขอพึ่งบารมีของพระเจ้าหลวงแห่งนครจำปาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือน ณ ดอนค้อนกอง ต่อมาเรียกว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก"ในปี พ.ศ. 2321พระเจ้าศิริบุญสาร ให้เพี้ยสรรคสุโภย ยกกองทัพมาปราบ พระวอตายในสนามรบผู้คนที่เหลือจึงอพยพไปอยู่ในเกาะกลางลำแม่น้ำมูลชื่อว่า"ดอนมดดง"   (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี)
            สายที่ 2  มีท้าวโสมพะมิตรเป็นหัวหน้า   ได้อพยพข้ามสันเขาภูพานลงมาทางใต้  และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่น ต่อมาท้าวโสมพะมิตรได้ส่งท้าวตรัยและคณะ ออกเสาะหาชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่ใช้เวลาประมาณปีเศษจึงพบทำเลที่เหมาะสม คือบริเวณลำน้ำปาวและเห็นว่าแก่งสำโรงชายสงเปลือยมีดิน น้ำอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนและได้จัดตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 
               พ.ศ. 2336 ท้าวโสมพะมิตรได้ นำเครื่องบรรณาการ คือ กาน้ำสัมฤทธิ์ เข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี และขอตั้งบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง ได้รับพระราชทานนามว่า "กาฬสินธุ์" และได้แต่งตั้งให้ ท้าวโสมพะมิตรเป็น  "พระยาชัยสุนทร"
                 พ.ศ. 2437 สมัยพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล มี มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และให้เมืองกาฬสินธุ์ เป็น "อำเภออุทัยกาฬสินธุ์" ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด   
                 วันที่ 1 สิงหาคม 2456 ได้ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" ให้มีอำนาจปกครอง อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอ กมลาไสย และอำเภอยางตลาด โดยให้ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด
                  วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และ 1 ตุลาคม 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จนถึงปัจจุบัน
               กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า  ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตร ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำปาว เรียกว่า " บ้านแก่งสำโรง แล้ว  ได้นำเครื่อง-บรรณาการ เข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า "เมืองกาฬสินธุ์หรือ "เมืองน้ำดำซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล "กาฬแปลว่า "ดำ” "สินธุ์แปลว่า "น้ำกาฬสินธุ์จึงแปลว่า "น้ำดำทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็น "พระยาชัยสุนทรครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก

2. อาณาเขต

                จังหวัด กาฬสินธุ์ ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 519 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 6,946.746 ตร.กม. หรือ ประมาณ 4,341,716 ไร่ หรือ ร้อยละ 4.5 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

.

      .  

   

ทิศเหนือ

 

ติดต่อกับ

 

จังหวัดสกลนคร และ จังหวัดอุดรธานี โดยมีลำน้ำปาวและ ห้วยลำพันชาดเป็นแนวกั้นแบ่งเขต

 

ทิศใต้

 

ติดต่อกับ

 

จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม

 

ทิศตะวันออก

 

ติดต่อกับ

 

จังหวัดสกลนครและจังหวัดมุกดาหาร โดยมี สันปันน้ำของเทือกเขาภูพานเป็นแนวแบ่งเขต

 

ทิศตะวันตก

 

ติดต่อกับ

 

จังหวัดมหาสารคาม โดยมีลำน้ำชีเป็นเส้นแบ่งเขตและบางส่วนติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น

 

 

3. ข้อมูลการเดินทางของจังหวัดกาฬสินธุ์

ระยะทางจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ไปยังอำเภอต่างๆ คือ
1. อำเภอเมืองกาฬสินธุ์                 -
2. อำเภอกมลาไสย                      12  กิโลเมตร
3. อำเภอยางตลาด                       16  กิโลเมตร
4. อำเภอดอนจาน                        27  กิโลเมตร
5. อำเภอฆ้องชัย                          32  กิโลเมตร
6. อำเภอสหัสขันธ์                        39  กิโลเมตร
7. อำเภอร่องคำ                           39  กิโลเมตร
8. อำเภอสมเด็จ                           40  กิโลเมตร
9. อำเภอนามน                            42  กิโลเมตร
10. อำเภอห้วยเม็ก                       48  กิโลเมตร
11. อำเภอห้วยผึ้ง                         60  กิโลเมตร
12. อำเภอหนองกุงศรี                   62  กิโลเมตร
13. อำเภอกุฉินารายณ์                  79  กิโลเมตร
14. อำเภอคำม่วง                         81  กิโลเมตร
15. อำเภอสามชัย                        85  กิโลเมตร
16. อำเภอนาคู                            88  กิโลเมตร
17. อำเภอท่าคันโท                      99  กิโลเมตร
18. อำเภอเขาวง                         103 กิโลเมตร

การเดินทาง

  • รถยนต์ จากกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์ ระยะทาง 519 กิโลเมตร ใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 23, 213 และทางหลวงหมายเลข 209 มหาสารคาม-กาฬสินธุ์

  • รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด  เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ - กาฬสินธุ์ทุกวัน โดยมีบริการทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รายละเอียดสอบถามได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โทร. 0 2936 2841-48, 0 2936 2852–66 หรือ www.transport.co.th

  • รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถดีเซลรางปรับอากาศไปลงจังหวัดขอนแก่น จากนั้นต่อรถโดยสารไปจังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทาง 75 กิโลเมตร รายละเอียดสอบถามได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 สถานีรถไฟขอนแก่น โทร. 0 4322 1112 หรือ www.railway.co.th

   เครื่องบิน ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดกาฬสินธุ์ แต่สามารถโดยสารเครื่องบินไปจังหวัดใกล้เคียง โดยมีสายการบินต่าง ๆ ให้บริการดังนี้

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น แล้วต่อรถโดยสารเข้ากาฬสินธุ์ สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 หรือ www.thaiairways.com

สายการบินแอร์เอเชีย เส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น มีเที่ยวบินทุกวัน โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com

สายการบินพีบีแอร์ เส้นทางกรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด มีเที่ยวบินทุกวันยกเว้นวันอังคารและวันเสาร์ แล้วต่อรถโดยสารเข้ากาฬสินธุ์ สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0 2261 0221-5 และ
0 4351 8572 หรือ www.pbair.com

4. สถานที่ท่องเที่ยว

พุทธสถานภูสิงห์ 
          
                        


 ตั้งอยู่บนยอดเขาภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ ใกล้ตลาด สหัสขันธ์ห่างจากจังหวัด 34 กม. มีทางขึ้น 2 ทาง คือ ทางราดยางคดเคี้ยวขึ้นตามไหล่เขาทางทิศตะวันตก และทางเดินเท้า ทำเป็นบันได 104 ขั้น ทางทิศตะวันออก เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่นล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ทั้งยังมองเห็นทิวทัศน์ของทุ่งนา หมู่บ้าน และน้ำในเขื่อนลำปาวอันสวยงามอีกด้วย พุทธสถานภูสิงห์เป็นที่ประดิษฐานพระพรหมภูมิปาโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10.5 เมตร มีพุทธลักษณะสง่างามเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสร้างเมื่อปี พ.. 2511

เมืองฟ้าแดดสงยาง
.
        

ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 20 กม. มีซากอิฐปนดิน คูเมืองสองชั้น มีลักษณะเป็นท้องน้ำที่พอมองเห็น คือพระธาตุยาคูผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดีแต่มีตัวเมืองสองชั้นเชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง ชาวนามักขุดพบใบเสมา หินทรายมีลวดลายบ้างไม่มีบ้าง ที่ขึ้นทะเบียนไว้ทางกรมศิลปากร 130 แผ่น พระพิมพ์ดินเผามีลักษณะเป็นอิทธิพลของสกุลช่างคุปตะรุ่นหลัง อายุประมาณ 1,000 – 2,000 ปี มีอยู่ทั่วไปนอกจากนี้ยังพบกล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดีก้านขดเป็นรูปตัวมังกร อายุ 7,000 ปี ที่น่าสนใจคือกล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์อายุประมาณ 5,000 – 6,000 ปี ซึ่งเป็นครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มมาก่อนทุก ๆ แห่งในโลกนี้

 

 

 

 

 

 

14 พฤศจิกายน 2561 | จำนวนเข้าชม 5538 ครั้ง